วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

มาสร้างเครื่องบินบังคับ...กันเถอะ



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องบินไฟฟ้าบังคับวิทยุ
มาทำความรูจักกับส่วนต่างๆที่เรียกเครื่องบินไฟฟ้ากันก่อนนะครับ ต่อไปเวลาพูดถึงจะได้นึกออก มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ บางที่ก็ทับศัพท์ ก็ถือเป็นการฟุดฟิต..ไปในตัว

รูปแสดง ส่วนต่างๆ ของเครื่องบิน

เครื่องบินบินได้อย่างไร (เอาแบบคร่าวๆนะครับ...วิชาการคงต้องไปหาอ่านต่อกันเองนะครับ)
จากรูป จะเห็นได้ว่า เครื่องบิน บินได้เพราะมีส่วนประกอบหลายส่วนทำงานร่วมกัน เริ่มตั้งแต่

ใบพัด (Propeller)
หมุนผลักให้อากาศเคลื่อนที่ ทำให้เกิดแรงดึงเครื่องบิน (Thrust) ให้วิ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็ว ตามการหมุนของใบพัด (rpm.) ว่าจะหมุนเร็วหรือช้า และใบพัดมีมุมบิดมากหรือน้อย (Pitch)


ปีก (Wing) จะแหวกอากาศ ทำให้เกิดการพยุงตัว และเมื่อปีกมีส่วนโค้งด้านบนและด้านล่าง (Airfoil) ตามรูปแบบต่างๆ ซึ่งก็แล้ว
แต่ลักษณะการออกแบบ ก็จะทำให้เกิดแรงยกตัวขึ้นเมื่ออากาศไหลผ่านปีก และเมื่อแรงยกมากกว่าน้ำหนักเครื่องบิน ก็จะทำให้เครื่องบินลอยตัวได้ แรงยกจะขึ้นอยู่กับลักษณะของปีก ความกว้าง (Wing chord) ความยาวยาว(Wingspan) ความโค้งปีก(Airfoil) แหงนหน้ามีมุมปะทะมากน้อย (Angle of attack) ... .และอื่นๆอีกมากมายก่ายกอง
แอร์ฟอย (Airfoil) รูปแบบต่างๆของปีก

หางหลังแนวดิ่ง (Vertical fin) และ หางหลังแนวระดับ (Horizontal Stabilizer) ก็เป็นส่วนที่ช่วยเรื่องการทรงตัว ทำให้เครื่องบิน บินได้ตรงแนว ในระนาบการบินเดินทาง
แพนหางเลี้ยว (Rudder) ก็จะเป็นตัวที่ทำให้เครื่องบินเลี้ยวซ้าย-ขวาได้ ตามการบิดทำมุมของหาง คือให้อากาศเป็นตัวดันหางที่บิดนั้นๆ เครื่องจึงเลี้ยวได้
แพนหางขึ้นลง (Elevator) ก็เป็นส่วนที่ขยับขึ้นลง เพื่อให้อากาศดันส่วนหางให้ขึ้นลง ส่งผลให้เครื่องบินเชิดหัวขึ้น หรือดิ่งลง ได้เช่นบินตีลังกา ( Loop )

แอล์ร่อน (Aileron)
เป็นส่วนที่ขยับขึ้นลงที่ปีกซ้ายกับขวา จะขยับสวนทางกัน เพื่อให้เกิดการบิดเอียงปีก ไปตามการขยับขึ้นลงของแอล์ร่อน จะเอาไว้ใช้ในการเลี้ยวแบบเอียงปีกตีวง หรือบินผาดแผลงที่เราเรียกกันว่า บินควงสว่าน ( Roll ) หรือเอาไว้แก้อาการเอียงปีกขณะบิน อาจเนื่องมาจากแรงบิดสวนทางจากใบพัด หรือความไม่สมดุลของน้ำหนักบิกทั้งสองข้าง

แฟล็บ (Flap) เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มความโค้งของปีก หรือเพิ่มแรงยกให้กับปีก ใช้ตอนเครื่องบินจะขึ้น หรือกำลังร่อนลง เพราะความเร็วจะต่ำ ปีกอาจจะมีแรงยกไม่มากพอ จึงต้องมีแฟล็บเคลื่อนลงทั้งคู่ซ้ายขวา ทำให้เครื่องร่อนลงได้ย่างสวยงามที่ความเร็วต่ำ

ลำตัว (Fuselage) นี่ก็เป็นส่วนสำคัญที่เป็นแกนกลางให้กับส่วนต่างๆยึด ความยาวลำตัวก็มีส่วนช่วยในการรักษาระดับการทรงตัว เหมือนหางว่าง คือถ้ายาวมากก็จะทรงตัวดี โดยไม่จำเป็นต้องมีหางที่ใหญ่มาก เช่นลูกธนู แต่ถ้าลำตัวสั้น ก็ต้องเพิ่มขนาดพื้นที่หางทั้งแนวดิ่งแนวระดับ จะได้ทรงตัวได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้จะมีผลต่อการเลี้ยวและขึ้นลงด้วย คือถ้าลำตัวยาว ก็จะเลี้ยวตีวงกว้าง ถ้าลำตัวสั้น ก็จะเลี้ยวได้วงแคบว่องไว อาจไวมากจนควบคุมไม่ทัน ฉนันการออกแบบต้องคำนึงถึงตรงนี้ด้วย ว่าต้องการให้เครื่องบินออกมาในลักษณะใด ไม่ใช่แค่สวยงามอย่างเดียว


ที่มา....www.ifomodel.com




เครื่องบินบังคับสามารถสร้างได้เองง่ายกว่าที่คิด

วิธีและเทคนิคในการสร้าง เครื่องบินบังคับวิทยุ โดยผู้มีประสบการณ์ ในโรงงานสร้างเครื่องบินส่งออกว่า 7 ปี
  

2 ความคิดเห็น:

  1. http://www.trakulsiam.com/?p=545

    ผมกำลังสรา้งเครื่องบินขอแรงใจแรงสนับสนุนด้วยครับ

    ตอบลบ
  2. http://www.trakulsiam.com/?p=545

    ผมกำลังสรา้งเครื่องบินขอแรงใจแรงสนับสนุนด้วยครับ

    ตอบลบ